ชื่อโครงการ ที่ดินเกษตรกรรมเพื่อพืชเศรษฐกิจ
วัตถุประสงค์ - สร้างแนวคิดในการสร้างมูลค่าเพิ่มในทรัพย์สินประเภทที่ดินว่าง / เกษตรกรรม
- เพิ่มเครื่องมือในการขายทรัพย์เฉพาะประเภทที่ดินเปล่า / เกษตรกรรมให้มีสภาพคล่องในการจำหน่าย
กลุ่มเป้าหมาย 1. กลุ่มเกษตรกรรายย่อย (S)
2. กลุ่มนักลงทุนทั่วไป (M)
3. กลุ่มนักทุนอุตสาหกรรมการเกษตร / นักลงทุนรายใหญ่ (L)
การวิเคราะห์ SWOT
จุดแข็ง (Strengths)
- ทรัพย์สินมีหลายๆ ทำเล และเนื้อที่แตกต่างกันสามารถสนองความต้องการได้ทุกระดับ
- สามารถกำหนดราคาขายให้แข่งขันกับตลาดปกติได้
- ช่องทางการจำหน่ายผ่านสาขาที่ครอบคลุมทุกภาค ทำให้สามารถให้บริการได้ทั่วถึงโดยเฉพาะผู้ซื้อในพื้นที่
- มีข้อมูลสนับสนุน / คู่มือในการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจเป็นฐานความรู้ให้กลุ่มลูกค้า เป้าหมาย
จุดอ่อน (Weaknesses)
- ผู้ลงทุนจำเป็นต้องมีเครือข่ายในการปลูกพืชชนิดเดียวกันเพื่อสร้างตลาดและกำหนดราคาของตน
โอกาส (Opportunities)
- สร้างอำนาจการซื้อให้กับลูกค้าเป้าหมายกลุ่มใหม่
- พืชเศรษฐกิจเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะ กลุ่มพืชพลังงานทดแทน
- นโยบายภาครัฐที่มีการส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานทดแทน
- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพลังงานมีราคาสูงขึ้นอย่างมีนัยโดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง
อุปสรรค (Threats)
- ความอ่อนไหวของราคาพืชเกษตรกรรมขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐและตลาดพ่อค้าคนกลาง
- ความแปรปรวนของสภาพอากาศและฤดูกาลไม่สามารถควบคุมได้
วิธีการดำเนินการ
1. คัดเลือกที่ดินที่มีศักยภาพและเอื้อต่อการผลิตพืชเศรษฐกิจ ตามทำเลที่ตั้ง และภูมิประเทศ โดยสอดคล้องกับ
ภูมิอากาศ และคัดแบ่งแปลงให้เหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อย หรือกลุ่มทุนภาคอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น แปลงที่ดินขนาดเนื้อที่ 5 -10 ไร่ เหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อยเพื่อการเพาะปลูกแบบพอเพียงแปลงที่ดินขนาดเนื้อที่ 10-50 ไร่ เหมาะสำหรับเกษตรกรรายกลาง/นักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนตามมาตรฐาน แปลงที่ดินขนาดเนื้อที่ มากกว่า 50 ไร่ เหมาะสำหรับกลุ่มทุนภาคเกษตรอุตสาหกรรม/นักลงทุนรายใหญ่
2. กำหนดราคาขายจำหน่ายทรัพย์เป็นราคาพิเศษโดยคำนึงถึงต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการถือครองและกำไร
3. บสก. จะจัดเตรียมข้อมูลเบื้องต้นทางวิชาการ ในส่วนของการเพาะปลูก การบำรุงรักษา และอื่น ๆ ที่จำเป็น
4. ประสานงานกับ ธกส. เพื่อให้การสนับสนุนสินเชื่อ /พร้อมเงินลงทุนในการซื้อทรัพย์สินและเพาะปลูกพืช